บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

2. ข้อมูลพื้นฐานคลองสี่

ข้อมูลพื้นฐาน




1.1    ชื่อ   องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่   ต. คลองสี่  อ. คลองหลวง  จ.ปทุมธานี  12120
ประวัติความเป็นมาของตำบลคลองสี่   ตำบลคลองสี่  เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอคลองหลวง  ประกอบด้วย  16 หมู่บ้าน เดิมชื่อตำบลบางหวาย ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ ตำบลคลองหก (รวมกับคลองหก) ปัจจุบันได้เรียกชื่อใหม่ตามคลองสิบห้าที่ตัดผ่านว่า คลองสี่ 
1.2    สภาพทั่วไป
                องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่  เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่   59 หมู่ที่ 6 ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากอำเภอคลองหลวงประมาณ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม 44.80 ตารางกิโลเมตร
ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  เมื่อวันที่   3  มีนาคม  พ.ศ. 2538  แบ่งการปกครองออกเป็น16  หมู่บ้าน
               อาณาเขตติดต่อ
                ทิศเหนือ                ติดต่อกับ        ตำบลวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                ทิศใต้                      ติดต่อกับ        ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
                ทิศตะวันออก        ติดต่อกับ        ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
                ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ        ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

1.3        อาชีพ / รายได้เฉลี่ย

                   เกษตรกร                               ร้อยละ   68
                                ค้าขาย                                    ร้อยละ   5
                                รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ      ร้อยละ   2
รับจ้าง                                    ร้อยละ   5
อื่นๆ อุตสาหกรรม              ร้อยละ   20
รายได้เฉลี่ยของประชากร                 80,000 บาท/ปี


1.4        ข้อมูลประชากร



1.5          ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.5.1                     การคมนาคม / สถานีขนส่งสินค้า
            ตำบลคลองสี่อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร  (เขตดอนเมือง)  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ  28  กิโลเมตร การเดินทางในปัจจุบันสะดวกมากทั้งทางรถยนต์  มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสายหลักที่ใช้ในการคมนาคม / ขนส่ง  คือ  ถนนมอเตอร์เวย์  ถนนพหลโยธิน  มีรถประจำทาง (ร่วมบริการ) คือสายรังสิตคลอง 13 หนองเสือ  รถเมล์ปรับอากาศสายรังสิต  ขนส่งคลอง 4  ปัจจุบันถนนหลักในตำบลเป็นถนนสายเลียบคลองสี่ทั้งสองฝ่าย  คือ  ถนนฝั่งตะวันออก  และฝั่งตะวันตก ทั้งสองฝั่งเป็นถนนลาดยางทำให้เกิดความสะดวกในการสัญจรไปมาของประชาชน
1.5.2                     การไฟฟ้า
การให้บริการไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่  ครบทุกครัวเรือนในตำบลได้ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอบางปะอิน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

1.5.3                     การประปา
ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองสี่ โรงเรียน วัด สถานีอนามัย ได้ใช้น้ำประปาบาดาลขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่  ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ได้เจาะบ่อบาดาล ขึ้นแล้วจำนวน 12 แห่ง 16 หมู่บ้าน และใช้น้ำประปา จำนวน 12 แห่ง เพื่อให้บริการน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคแก่ราษฎรที่ขาดแคลน ซึ่งในขณะนี้สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทั่วถึงทั้งหมด
1.5.4                     การสื่อสารและโทรคมนาคม
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่  ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขในตำบล แต่ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลคลองสี่ใช้บริการไปรษณีย์จากที่ทำการไปรษณีย์อำเภอคลองหลวง สำหรับโทรศัพท์มีทั้งที่ติดตั้ง  โดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย  และที่ติดตั้งโดยบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 80 ของครัวเรือน มีโทรศัพท์ประจำบ้าน แต่ยังขาดแคลนโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งองค์การโทรศัพท์ได้ให้สำรวจและแจ้งความจำนงขอติดตั้งเพิ่มเติมแล้ว
1.5.5                     การจราจร
สภาพการจราจรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่เป็นเส้นทางการจราจรที่ยังไม่หนาแน่น การเดินทางสะดวกรวดเร็ว ถนนหรือแยกที่มีปัญหาจราจรและมักมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ได้แก่          
1.  ถนนสายบางขันธ์ - คลองหลวง ช่วงกลับรถบริเวณปั้มบางจาก
2.  แยกไปอำเภอคลองหลวง (สะพานข้ามคลองสี่)
1.5.6                     การใช้ที่ดิน
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ มีพื้นที่ทั้งหมด 44.80 ตารางกิโลเมตร ที่ดินส่วนใหญ่มักใช้เพื่อการอยู่อาศัย การสาธารณูปโภค การเกษตร
การใช้ที่ดินกำหนดประเภทการใช้ที่ดินไว้  4 ประเภท คือ
1.  การใช้ที่ดินเพื่อการทำเกษตรกรรม
2.  การใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม
3.  บริเวณที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
4.  บริเวณที่ดินเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและส่งเสริมสภาพแวดล้อม
การใช้ที่ดินภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคอลงสี่  ส่วนใหญ่เป็นการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัยที่สำคัญ ได้แก่ หมู่บ้านพรรณนิภา หมู่บ้านซิตี้โฮมวิลเล็จ หมู่บ้านปาริชาต            ม.ศุภาลัยบุรี 1, 2 หมู่บ้านจันทรารัตน์ หมู่บ้านเจริญลาภ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น